รู้ก่อนซื้อ "หุ้น RBF"



เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา RBF หรือ บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) ได้เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นวันแรก โดยมีราคา IPO อยู่ที่ 3.3 บาทต่อหุ้น และเมื่อเปิดตลาดวันแรกราคาหุ้นไปปิดอยู่ที่ 4.36 บาท เพิ่มขึ้น 32.12% สร้างความฉงนให้ผมมากว่าบริษัททำธุรกิจอะไร และทำไมนักลงทุนจึงให้ความสนใจมากขนาดนั้น ซึ่งวันนี้เราจะลองมาหาคำตอบกัน


ธุรกิจของบริษัท

สิ่งแรกที่ผมให้ความสนใจ คือ บริษัททำธุรกิจอะไร ซึ่งหากเราไปเปิดหนังสือชี้ชวนของทางบริษัทเราจะพบว่า RBF มีธุรกิจอยู่ 2 ส่วน คือ ธุรกิจผลิตและจำหน่ายวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร (Food Ingredients) และธุรกิจโรงแรม


ในส่วนของธุรกิจผลิตและจำหน่ายวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร (Food Ingredients) บริษัทมีผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 6 กลุ่มผลิตภัณฑ์ คือ

  1. กลุ่มวัตถุแต่งกลิ่น (Flavor) และสีผสมอาหาร ซึ่งรวมถึงวัตถุแต่งกลิ่นที่นำไปเป็นส่วนผสมในน้ำหอมและเครื่องสำอาง
  2. กลุ่มแป้งและซอส
  3. กลุ่มผลิตภัณฑ์อบแห้ง
  4. กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง
  5. กลุ่มบรรจุภัณฑ์พลาสติก
  6. กลุ่มผลิตภัณฑ์ซื้อมาและจำหน่ายไป เช่น สารกันบูด สารกันรา กรดมะนาว เป็นต้น รวมถึงนมผง และปลอกไส้กรอก


โดยลูกค้าของทาง RBF ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการชั้นนำในอุตสาหกรรมอาหาร อาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว อาหารสัตว์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในครัวเรือน แทบทั้งสิ้น เช่น บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอกชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส เป็นต้น


นอกจากนั้นบริษัทยังลงทุนในธุรกิจโรงแรม 2 แห่ง คือ โรงแรม ไอบิส สไตล์ เชียงใหม่ และโรงแรมโนโวเทล ชุมพร บีช รีสอร์ท แอนด์ กอล์ฟ


แนวโน้มผลประกอบการ

จากผลประกอบการในอดีตพบว่ารายได้ของบริษัทฯ เป็นดังนี้
  • ปี 2559 รายได้ 2,640.96 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 2,919.45 ล้านบาท
  • ปี 2561 รายได้ 2,749.59 ล้านบาท

และหากเทียบผลดำเนินการครึ่งปีแรกของปี 2562 กับครึ่งปีแรกของปี 2561 พบว่า รายได้เติบโตจาก 1,343.02 ล้านบาท มาเป็น 1,415.56 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 5.40%


โดยรายได้จากการขายสินค้าเพิ่มขึ้นจาก 1,283.00 ล้านบาท มาเป็น 1,367.03 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 6.55% ส่วนรายได้จากธุรกิจโรงแรมลดลงจาก 52.72 ล้านบาท มาเป็น 45.79 ล้านบาท ลดลง 13.14%


ซึ่งหากมองจากสัดส่วนรายได้จากการขายพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย โดย
  • กลุ่มวัตถุแต่งกลิ่นและสีผสมอาหาร มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นจาก 38% เป็น 40%
  • กลุ่มแป้งและซอส มีสัดส่วนรายได้ลดลงจาก 36% เป็น 35%
  • กลุ่มบรรจุภัณฑ์พลาสติก มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นจาก 1% เป็น 2%
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์ซื้อมาเพื่อจำหน่าย มีสัดส่วนรายได้ลดลงจาก 15% เป็น 13%

แต่หากเรามองที่ตัวรายได้จากการขายเลยจะพบว่า
  • กลุ่มวัตถุแต่งกลิ่นและสีผสมอาหาร มีรายได้เพิ่มขึ้นจาก 489.64 ล้านบาท เป็น 541.96 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 10.69%
  • กลุ่มแป้งและซอส มีรายได้เพิ่มขึ้นจาก 456.1 ล้านบาท เป็น 479.45 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 5.12%
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์อบแห้ง มีรายได้เพิ่มขึ้นจาก 73.06 ล้านบาท เป็น 89.2 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 22.09%
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง มีรายได้ลดลงจาก 51.11 ล้านบาท เป็น 49.09 ล้านบาท คิดเป็นการลดลง 3.95%
  • กลุ่มบรรจุภัณฑ์พลาสติก มีรายได้เพิ่มขึ้นจาก 19.19 ล้านบาท เป็น 23.3 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 21.42%
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์ซื้อมาเพื่อจำหน่าย มีรายได้ลดลงจาก 193.9 ล้านบาท เป็น 184.03 ล้านบาท คิดเป็นการลดลง 5.09

ตัวเลขสำคัญทางการเงิน

หากเรามองไปที่ตัวเลขสำคัญทางการเงินของ RBF จะเป็น ดังนี้


เหตุผลในการเพิ่มทุน

RBF ให้เหตุผลว่า ในการเพิ่มทุนครั้งนี้ทางบริษัทจะนำไป
  1. ลงทุนก่อสร้างโรงงานในต่างประเทศ
  2. ปรับปรุงและซื้อเครื่องจักรเพิ่มเติม
  3. ลงทุนเปิดบริษัทตัวแทนและห้องทดลองในต่างประเทศ
  4. ชำระคืนเงินกู้ให้กับผู้ถือหุ้นใหญ่
  5. ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ

ภาพหลังเพิ่มทุน

หลังจากเพิ่มทุนเราจะสามารถประมาณการณ์งบดุลคราว ๆ ได้ ดังนี้ โดยจะเห็นว่าส่วนของทุนจะเพิ่มขึ้น และหนี้ระยะยาวจะลดลง


ซึ่งจะส่งผลให้ตัวเลขสำคัญทางการเงินจะเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้


ซึ่งจะเห็นได้ว่าอัตราส่วนสภาพคล่อง และความสามารถในการบริหารหนี้สินดีขึ้น ส่วนความสามารถในการบริหารสินทรัพย์และความสามารถในการทำกำไรจะลดลงเล็กน้อย

ราคา

ด้วย P/E ประมาณ 26.83 เท่า คิดที่ราคา 4.04 บาท แพงไปหรือไม่ ผมอยากจะเอามาเทียบกับบริษัทหนึ่งซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันคือ President Bakery


เราจะเห็นว่าตัวเลขสำคัญทางการเงินของ PB ดีกว่าทาง RBF เกือบทั้งหมด แต่ P/E ของ PB แค่ 18.65 เท่า เท่านั้นเอง

ถ้าชอบอย่าลืมติดตาม “InvesTalk – สนทนาภาษานักลงทุน” ได้ทาง

ขอบคุณครับ

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น