CPALL กับการมาของ Lotus


เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า Lotus จะกลับเข้าสู่อ้อมอกของ CP อีกครั้ง โดยครั้งนี้จะเป็นการกลับมาภายใต้บริษัท ซี.พี.รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมทุนกันระหว่าง บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซี.พี. เมอร์แชนไดซิ่ง

การกลับมาครั้งนี้ จะส่งผลต่อผลประกอบการของ CPALL อย่างไร วันนี้เราไปหาคำตอบกันครับ


ธุรกิจของ CPALL

CPALL ทำธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง มีแบรนด์หลักอยู่ 2 แบรนด์ คือ 7-11 และ Makro โดย 7-11 ทำธุรกิจร้านสะดวกซื้อ มีสาขาอยู่ทั้งสิ้น 11,712 สาขา ส่วน Makro ทำธุรกิจค้าส่งแบบ Cash and Carry มีสาขาอยู่ทั้งสิ้น 134 สาขา ในประเทศ และอีก 6 สาขาในต่างประเทศ



หากย้อนไปดูงบการเงินตั้งแต่ปี 2017 - 2019 จะพบว่า รายได้รวมของบริษัทมีการเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยสัดส่วนรายได้ของ CPALL มาจาก 7-11 ประมาณ 59% Makro ประมาณ 34% และอื่น ๆ อีก 7%



ผลประกอบการที่ผ่านมา

หากย้อนดูผลประกอบการที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2011 - 2019 จะพบว่า 
  • รายได้เติบโตจาก 155,360 ล้านบาท ในปี 2011 มาเป็น 550,901 ล้านบาทในปี 2019 คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ย 17.14% ต่อปี 
  • ส่วนกำไรสุทธิเติบโตจาก 8,008 ล้านบาท ในปี 2011 มาเป็น 22,343 ล้านบาทในปี 2019 คิดเป็นการเติบโตเฉลี่ย 13.69% ต่อปี



การที่กำไรสุทธิเติบโตน้อยกว่ารายได้เป็นผลมาจากอัตรากำไรขั้นต้นที่ลดลงและดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการซื้อ Makro


ส่งผลให้ตัวเลขสำคัญทางการเงินของ CPALL ของปี 2019 มีหน้าตาเป็นแบบนี้


ซึ่งถือว่าดีทีเดียว

การมาของ Lotus เอาอะไรมาบ้าง ?

สิ่งที่ CPALL ได้แน่ ๆ จากการซื้อ Lotus คือ ส่วนแบ่งกำไรของบริษัทร่วม แต่ก็แลกมาด้วยหนี้ระยะยาวอีก 96,000 ล้านบาท แล้วมันจะส่งผลต่องบการเงินขนาดไหน ไปดูกัน


ส่วนแบ่งกำไรจาก Lotus

ถ้าเราย้อนดูผลประกอบการที่ผ่านมาของ Lotus ตั้งแต่ปี 2013 - 2019 จะพบว่า 
  • รายได้ลดลงจาก 210,277 ล้านบาท ในปี 2013 มาเป็น 188,628 ล้านบาทในปี 2019 คิดเป็นการลดลงเฉลี่ย 1.79% ต่อปี 
  • ส่วนกำไรสุทธิลดลงจาก 19,601 ล้านบาท ในปี 2013 มาเป็น 7,819 ล้านบาทในปี 2019 คิดเป็นการลดลงเฉลี่ย 14.20% ต่อปี


หากใช้กำไรที่ 7,819 ล้านบาท ในปี 2019 เป็นฐาน CPALL จะได้ส่วนแบ่งกำไรราว 2,718 ล้านบาท (ส่วนแบ่ง 34.76%) 

ดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้น

CPALL จะต้องกู้เงินอีกราว 96,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการซื้อ Lotus ซึ่งหากคิดดอกเบี้ยที่ 4% จะทำให้ดอกเบี้ยจ่ายจะเพิ่มขึ้นอีกปีละ 5,500 ล้านบาท

ภาพหลังได้ Lotus

หากพิจารณาทั้งส่วนแบ่งกำไรและดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้นแล้ว จะทำให้ในช่วงแรกหลังซื้อ Lotus เข้ามาอาจทำให้กำไรลดลงราวปีละ 2,300 ล้านบาท

ส่งผลให้ตัวเลขสำคัญทางการเงินของ CPALL จะมีหน้าตาประมาณนี้


แต่สิ่งที่เราเห็นตรงนี้ยังไม่ได้รวม Synergy ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น อำนาจต่อรองที่มีต่อ Supplier ที่มากขึ้น การใช้ศูนย์กระจายสินค้าร่วมกัน การปรับปรุง Product Mix ภายใน Lotus เป็นต้น

ติดตาม “InvesTalk – สนทนาภาษานักลงทุน” ได้ทาง 

ขอบคุณครับ






แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น